หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2558

แบบชุดดุมล้อ หุ่นยนต์กู้ภัย




    แบบดุมล้อหุ่นยนต์กู้ภัยที่ผมได้ทดลองทำและแอบจำเขามาบ้าง..............น้องร่วมทีมแนะนำบ้างตามธรรมชาติของช่างกลโรงงาน (ครูพักลักจำ)......น่าจะเป็นแบบที่เหมาะสมทีสุดสำหรับมือใหม่หัดทำ..และต้องการพัฒนาหุ่นยนต์.... หรือสามารถปรับได้ตามสถานการณ์และเวลานะครับ...ต้นทุนด้วย(สำคัญที่สุด)
      ปัจใจสำคัญอีกอย่างคือ เสตอร์.....ลูกปืน.....ดังนั้นบางที่อาจจะหาซื้อเสตอร์ตามผมไม่ได้...ผมใช้เสตอร์ขนาด 40 ฟัน (ถ้าจำไม่ผิดของ ยามาฮาRX-Z) ลูกปืน 6004 ID 20 OD 42 อาจปรับเปลี่ยนได้ตามของที่มีนะครับ...ผมซื้อที่คลองถม ของที่ใช้แล้ว...ราคาตัวละ30บาท 
        ส่วนดุมล้อผมแนะนำให้ใช้อลูมินั่มกลมตัน ขนาดเส้นผาศูนย์กลาง 4นิ้ว เกรด 5083 เพราะจะทำการกลึงขึ้นรูปได้ง่าย..เกลียวมีความแข็งแรง..ไม่รูดง่ายแต่ราคาจะสูงมาก กิโลกรัมละประมาณ 400บาทของผมซื้อมายาว 40 CM ราคา 4,800 ที่เดิมครับแถวโอเดียน (ไม่รวมค่ารถนะครับ) ในแบบงานตรงไหนว่างๆเจาะลดน้ำหนักเลย....ถ้าทุนเยอะก็ส่งชุบอโนไดสี(ดำ แดง นำ้เงิน เขียว เหลือง)ครับหรือชุบเองได้นะครับ..มีอยู่ในเว็บไหนผมจำไม่ได้.. 
      แบบสุดท้ายคือตัวท่อกลางเพื่อประหยัดอลูมินั่ม  สามารถใช้ได้ทั้ง ท่อเหล็ก ท่ออลูมินั่ม ท่อสเตนเลส แต่อย่าลืมว่าท่อแต่ละประเภทขนาดจะไม่เท่ากัน หากจะให้ดีก็หาท่อมาให้ได้ก่อนแล้วค่อยปรับขนาดตามท่อจะชัวกว่า
       ตัวสุดท้ายคือเฟืองขับเคยใช้ขนาดM1x120ฟันหนา9มมร้านที่คลองถมเพียบ ตัวละประมาณ800บาท
เฟืองที่ใช้กับหุ่นยนต์พยายามใช้ที่เขาชุบแข็งแล้วนะครับ...หรือก่อนชุบเองก็ได้เพราะเหล็กทำเฟืองส่วนมากเขาใช้เหล็ก S45C หรือS50C ..ซึ้งสามารถเป่าแก๊สแล้วก็ชุบน้ำมันเก่าได้


แนวคิด .........ครูที่ทำหุ่นยนต์กู้ภัย...บางครังต้องใช้ทุนตัวเองบ้าง..แต่นี่คือสื่อการเรียนการสอนที่ดีและมีคุณภาพนะครับ...ดีกว่านั่งเรียนตามหนังสือเรียนฟรี.....







วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558

โครงหุ่นยนต์กู้ภัย...แบบ4ขา


โครงหุ่นยนต์กู้ภัย แบบ4 ขา.....ชุดนี้ออกแบบเป็นครั้งที่5 ส่วนประกอบที่สำคัญนะครับคือ
1.มอเตอร์ขับเคลื่อน...2ตัว ใช้ประมาณ200รอบต่อนาที....บ้านหม้อ
2.มอเตอร์ชุดยกขาหน้า-หลัง..2ตัว ใช้ประมาณ400รอบต่อนาที...........บ้านหม้อ
3.แผ่นอลูมินั่มแบบราง(ตัวซี)ขนาด4นิ้วหนา1หุน.....ขนาดยาวตามแบบครับ..เวลาซื้อไม่ค่อยแบ่งขายนะ      ครับผมไปซื้อได้แถวหัวลำโพง
4. เพลาทั้งหน้าและหลังใช้เพลาขนาด1นิ้ว........เหล็กแผนกครับ..ประหยัดตังค์
5. ชุดเกลียวหนอน...ใช้ 1:30 แบบปากเดียว  ร้านที่คลองถม...
6. อลูมินั่มกั้นชุดเกลียวหนอน ใช้ความหนา12 ,,mm เกรด5083 (กิโลละ 150) จะทำการขึ้นรูปได้ง่าย








หากเริ่มต้นทำครั้งแรกผมแนะนำให้ทำแต่2ขานะครับตัดชุดหลังออก...ก็วิ่งได้แล้ว





















วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558

แบบแขนหุ่นยนต์กู้ภัย (แขนเดี่ยว)

แบบหุ่นยนต์กู้ภัยครับ...ทำตามนี้ใช้งานได้เลย....จะนำไปทำโครงงานหรือทำเพื่อแข่งขันของอาชีวศึกษาหรืออย่างอื่น..
แต่อยากให้ทีมงานหุ่นยนต์ของอาชีวศึกษานะครับเพราะแบบงานนี้ผ่านการคิดและปรับปรุงแบบงานมาหลายครังแล้ว
จึงอยากจะให้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ที่สนใจเวลาแข่งจะได้ทีมที่เก่งๆกันทุกทีมครับ....มันๆๆๆๆๆ










การเขียนโปรแกรมคว้านรู Boring ด้วยG90 หรือG91

  การเขียนโปรแกรมคว้านรู ด้วย G90 หรือ G91          การคว้านรูหรือBoring ในงานซีเอ็นซีโดยการเขียนโปรแกรมหน้าจอผู้ทำโปรแกรมต้องมีความชำนาญและ...