เทคนิคการเขียนโปรแกรมเจาะรู
ด้วยG90
หรือG91
การเขียนโปรแกรมเจาะรูสามารถใช้ได้ทั้ง G90และG1 ข้อดีข้อเสียก็จะแตกต่างกันด้วย โดยในการเขียนโปรแกรมการเจาะจะมีการใช้อักษร K0 (เคศูนย์)เข้ามาร่วมใช้ในโปรแกรมวัฏจักรเป็นเทคนิคเพื่อไม่ให้เครื่องเจาะที่ตำแหน่งแรก
ค่าK เมื่อนำมาใช้ในการเจาะกับG91 จะหมายถึงระยะที่เคลื่อนที่ไปเท่ากัน จำนวนกี่ครั้ง (K_) เช่นในแบบงาน ระยะรูเจาะจำนวน6รู ระยะห่างตามแนวแกนX = 15 มม. ดังนั้นหารเราใช้ค่าKในการเขียนโปรแกรม จะได้เท่ากับ K5 หรือง่ายๆคือจำนวนรูลบด้วย1
N1 (Center Drill)
T1 M06 ;
G90 G00 G80 G40 ;
G91 G28 X0 Y0 Z0 ;
G90 G00 G54 X0 Y0 M03 S2000 ;
G43 Z100. H1 M8 ;
Z5. ;
G98 G81 Z-2. R1. K0 F250 ;
X10. Y12.5. ;
X40. ;
X55.;
X70.;
X85.;
G90 G00 Z100. M9 ;
G91 G28 Z0 Y0 ;
N2 (Drill 6mm)
G90 G00 G54 X0 Y0 M03 S1000 ;
G43 Z100. H2 M8 ;
Z5. ;
G98 G83 Z-10. R1. Q2. K0 F50 ;
X10. Y12.5. ;
X40. ;
X55.;
X70.;
G90 G00 Z100. M9 ;
G91 G28 Z0 Y0 ;
M30 ;
ตัวอย่างโปรแกรมการเจาะรูด้วยG91 (แบบไม่ใช้Subprogram)
N1 (Center Drill)
T1 M06 ;
G90 G00 G80 G40 ;
G91 G28 X0 Y0 Z0 ;
G90 G00 G54 X0 Y0 M03 S2000 ;
G43 Z100. H1 M8 ;
Z5. ;
G98 G81 Z-2. R1. K0 F250 ;
G91 X15. K5. ;
G90 G00 Z100. M9 ;
G91 G28 Z0 Y0 ;
N2 (Drill 6mm)
T2 M06 ;
G90 G00 G54 X0 Y0 M03 S1000 ;
G43 Z100. H2 M8 ;
Z5. ;
G98 G83 Z-10. R1. Q2. K0 F50 ;
G91 X15. K5. ;
G90 G00 Z100. M9 ;
G91 G28 Z0 Y0 ;
M30 ;
*โปรแกรมคือเทคนิคและวิธการ ต่างคนต่างกัน แต่จุดหมายเหมือนกันคือคุณภาพของงาน*