หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2564

งานวิจัย เรื่องใบมีดดายหญ้าร่องมันสำปะหลังแบบใบผสม

 โครงการวิจัยปีงบประมาณ 2561 ครับ......







ชื่อเรื่อง           ใบมีดดายหญ้าร่องมันสำปะหลังแบบใบผสม
ผู้วิจัย             นายฐาปนา   เจริญพร
สถานศึกษา    วิทยาลัยการอาชีพศีขรภูมิ
ปีพ.ศ.             2561
บทคัดย่อ
          การวิจัยเรื่องใบมีดดายหญ้าร่องมันสำปะหลังแบบใบผสมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อออกแบบใบมีดดายหญ้ารองมันสำปะหลังแบบใบผสม 2) เพื่อสร้างใบมีดดายหญ้ารองมันสำปะหลังแบบใบผสม 3) เพื่อหาประสิทธิภาพใบมีดดายหญ้ารองมันสำปะหลังแบบใบผสม โดยทำการศึกษาและทดสอบในแปลงปลูกมันสำปะหลังที่เป็นดินร่วนปนทรายและดินเหนียว
          ผลการประเมินผลการใช้งานใบมีดดายหญ้ารองมันสำปะหลังแบบใบผสม สรุปผลความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ที่มีต่อใบมีดดายหญ้ารองมันสำปะหลังแบบใบผสม ในภาพรวมผลการประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 4.59 ถือว่าผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ
          ผลการทดสอบความสามารถในการทำงาน และประสิทธิภาพการทำงานของใบมีดดายหญ้าร่องมันสำปะหลังแบบใบผสม ในการกำจัดวัชพืชแปลงปลูกมันสำปะหลัง โดยติดตั้งใบมีดกับเครื่องยนต์เล็กแบบสะพายบ่า พบว่า ในแปลงปลูกมันสำปะหลัง ดินร่วนปนทราย แบบจำนวน 3 ใบมีด ให้ความสามารถในการทำงาน 0.44 ไร่ต่อชั่วโมง ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง 2.45 ลิตรต่อไร่ ประสิทธิภาพของใบมีดดายหญ้า 90 เปอร์เซ็นต์ ผลการทำงานของใบมีดดายหญ้าร่องมันสำปะหลังแบบใบผสม ในแปลงปลูกมันสำปะหลัง ดินเหนียว แบบจำนวน 3 ใบมีด ให้ความสามารถในการทำงาน 0.39 ไร่ต่อชั่วโมง ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง 2.36 ลิตรต่อไร่ ประสิทธิภาพของใบมีดดายหญ้า 91 เปอร์เซ็นต์ สรุปได้ว่าใบมีดจำนวน 3 ใบ มีความสามารถในการทำงานได้ดีที่สุดใช้เวลาเฉลี่ยน้อยกว่าใบมีดอื่น เหมาะสมกับสภาพพื้นที่เพาะปลูกที่เป็นลักษณะดินเหนียว ปริมาณการใช้เชื้อเพลิงมีการสูญเสียใกล้เคียงกับการใช้ใบมีดแบบ 2 ใบ เหมาะสมกับสภาพพื้นที่เพาะปลูกที่เป็นลักษณะดินเหนียว และใบมีดแบบ 3 ใบ มีประสิทธิภาพของใบมีดดายหญ้าร่องมันสำปะหลัง มีเปอร์เซ็นในการกำจัดวัชพืชได้มากกว่าใบมีดอื่นๆ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
          มันสำปะหลังเป็นพืชที่ได้เปรียบพืชไร่อื่น ๆ เพราะเป็นพืชที่ปลูกง่ายต้องการการดูแลเอาใจใส่น้อย สามารถขึ้นได้ในสภาพดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำทนแล้ง และที่สำคัญมีโรคและแมลงน้อย อย่างไรก็ตาม การปลูกมันสำปะหลังเพื่อให้น้ำหนักหัวดีนั้นต้องดูเรื่อง การเลือกปลูกต้องเป็นที่ดอนน้ำไม่ท่วมขังเพราะจะทำให้หัวมันสำปะหลังเน่าควรใช้มันสำปะหลังพันธุ์ดีที่ให้น้ำหนักหัวสูงและเชื้อแป้งในหัวสูง เช่น พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50หรือพันธุ์ระยอง 5 ต้องมีการบำรุงดินโดยการใส่ปุ๋ยหรือปลูกพืชบำรุงดินเพื่อช่วยให้ดินเสื่อมช้ามีการควบคุมหญ้าและทำรุ่นดี และประการสุดท้ายต้องเก็บเกี่ยวที่อายุเหมาะสมมันสำปะหลังเป็นพืชที่มีการเจริญเติบโตในระยะแรกช้ามาก และการปลูกก็ใช้ระยะห่างระหว่างต้น 1 เมตร และระหว่างแถว 1 เมตร ก่อนที่มันสำปะหลังจะสร้างพุ่มใบให้ชนกันจนคลุมพื้นที่ได้ จะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3-4 เดือน ดังนั้นในระยะ 1-3 เดือนแรกของการเจริญเติบโตจะมีวัชพืชหลายอย่างขึ้นหนาแน่นแข่งกับมันสำปะหลัง ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่จะชี้ให้รู้ว่าน้ำหนักหัวจะดีหรือไม่ดีเมื่อครบอายุเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังมันสำปะหลังส่วนใหญ่นิยมปลูกด้วยท่อนพันธุ์ และมีระยะปลูกค่อนข้างห่างใช้ระยะระหว่างแถว 1 เมตร และระยะระหว่างต้น 1 เมตร เก็บเกี่ยวที่อายุ 8-12 เดือน การเจริญเติบโตของมันสำปะหลังระยะแรกช้ามาก ใบแรกเริ่มคลี่ให้เห็นได้หลังจากปลูกประมาณ3-4 เดือนหลังจากปลูกประมาณ 3 สัปดาห์ และสร้างพุ่มใบให้ชนกันจนคลุมพื้นที่ ใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือนหลังจากปลูก มันสำปะหลังเริ่มเอาอาหารไปเก็บที่ราก ที่เรียกว่า การลงหัวประมาณเดือนครึ่งถึงสองเดือนหลังจากปลูก และหลังจาก 4 เดือน ไปแล้วไม่มีการลงหัวเพิ่ม แต่จะขยายขนาดหัวให้ใหญ่ขึ้นจนกระทั่งเก็บเกี่ยวฉะนั้นมีวัชพืชรบกวนในระยะ 3-4 เดือนแรก จะทำให้การลงหัวไม่ดีทำ ให้จำนวนหัวน้ำหนักไม่ดีตามไปด้วยการปลูกมันสำปะหลังให้ได้ผลผลิตสูง ต้องคำนึงถึงหลักสำคัญสามประการ คือ การเลือกใช้พันธุ์ที่ดี การใส่ปุ๋ยบำรุงดิน และ การควบคุมกำจัดวัชพืชที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสม วัชพืชเป็นปัญหาที่สำคัญและเกษตรกรจะเสียค่าใช้จ่ายในการกำจัดวัชพืชมากที่สุดการจัดการวัชพืชในไร่มันสำปะหลังมีความสำคัญ เนื่องจากต้นทุนในการผลิตมันสำปะหลังไม่ตํ่ากว่าร้อยละ 20 เป็นค่าใช้จ่ายที่เกษตรกรต้องเสียไปกับการกำ จัดวัชพืช ถ้าไม่มีการกำจัดวัชพืชเลยหรือมีการกำจัดวัชพืชแต่ไม่ถูกวิธี ให้ทันตามฤดูกาล ผลผลิตของมันสำปะหลังย่อมลดลงแน่นอน (ธีระ สูตะบุตร : 2546)
          วิธีการควบคุมวัชพืชในแปลงมันสำปะหลังมีกรรมวิธีในการกำจัดได้แก่ การกำจัดวัชพืชด้วยวิธีกล เช่น การใช้จอบถาก เรียกว่า การทำรุ่นเหมาะสำหรับพื้นที่ที่ปลูกมันสำปะหลังไม่มากนักใช้แรงงานในครอบครัวควรเริ่มทำ ครั้งแรกภายใน 1 เดือน ทำรุ่นเสร็จจึงใส่ปุ๋ยและทำรุ่นอีก 2 ครั้ง คือ 60 และ 90 วันหลังจากนั้นพุ่มใบมันสำปะหลังจะชนกันคลุมพื้นที่ได้หมดวัชพืชจะขึ้นรบกวนได้ยาก การใช้คนดายหญ้า (ทำรุ่น) รอบๆโคนต้นมันค่าทำรุ่นต้องเสียค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยประมาณ 400-500 บาท/ไร่  การใช้แรงงานสัตว์โดยใช้วัวหรือควายติดไถหัวหมูพรวนดินระหว่างแถวมันสำปะหลังเรียกว่าการแทงร่อง หรือเดี่ยวร่อง ครั้งแรกจะเริ่มไถให้ดินพลิกเข้าหาโคนต้นมัน เรียกว่า เดี่ยวเข้าหรือ แทงพนมจะเริ่มหลังจากปลูกประมาณ 15 วัน ซึ่งต้นวัชพืชยังเล็กขี้ไถจะพลิกกลบวัชพืชได้หมด หลังจากนั้นอีก 30 วัน จะใช้ไถอีกครั้งคราวนี้จะใช้ไถออกจากโคนต้นเรียกว่า การเดี่ยวออกหรือ แทงผ่าและใช้จอบถากวัชพืชตามแถวจากโคนแถวมันอีก ซึ่งจะเหลือพื้นที่เพียงร้อยละ 25 เท่านั้น ครั้งที่ 3 เมื่อมันสำปะหลังอายุ 3-4 เดือน ต้นโตพุ่มใบชนกันไม่สะดวกจะใช้แรงงานสัตว์เพราะจะทำให้กิ่งหักหรือกระทบกระเทือนหัวมันได้จะใช้จอบถากทั้งหมดหรือใช้สาร (ยา) เคมีประเภทฆ่าหญ้า  การใช้เครื่องจักรพรวนระหว่างร่องจะกระทำได้ในขณะมันสำปะหลังยังเล็ก (1-2 เดือนหลังปลูก) เป็นเครื่องพรวนดิน ติดรถไถเดินตามหรือรถแทรคเตอร์พรวนดินระหว่างแถวมันและใช้จอบถากบริเวณต้นมัน จะลดพื้นที่การถากหญ้าได้ประมาณครึ่งหนึ่งแต่ถ้ามันสำปะหลังโตจะไม่สามารถกระทำ ได้เพราะจะกระทบต่อการลงหัวและอาจทำให้กิ่วฉีกหักได้ง่ายการใช้เครื่องพรวนดินระหว่างแถว การปลูกควรจะขยายแถวมันสำปะหลังให้กว้างขึ้น แต่จะลดระยะระหว่างต้นลง เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติเช่น การปลูกเพื่อใช้เครื่องพรวนดินติดท้ายแทรคเตอร์อาจจะใช้ระยะปลูก ระหว่างต้น 1 เมตร ระหว่างแถว 1 เมตร  การใช้รถไถขนาดเล็กทำได้เฉพาะร่องมัน ต้องเสียค่าใช้จ่าย 300-400 บาท/ไร่ การควบคุมวัชพืชด้วยสารเคมีแบ่งตามระยะเวลาการใช้สารได้ 2 อย่าง ได้แก่ 1) การใช้สารเคมีคุมวัชพืชแบบก่อนงอก หรือบางทีเรียกว่า สารคุมหรือยาคุมกำเนิด 2) การใช้สารเคมีคุมวัชพืชแบบหลังงอกหรือเรียกว่าการใช้ยาฆ่าหญ้า การกำจักวัชพืชด้วยวิธีการฉีดพ่นยาฆ่าหญ้าหรือฉีดพ่นยาคุมหญ้า ซึ่งการกำจัดวัชพืชด้วยวิธีนี้เกษตรกรจะต้องเสียค่าใช้จ่ายจ้างแรงงานฉีดพ่นประมาณ 250 บาท/ไร่ ค่ายา 200 บาท/ไร่ ชาวไร่มันสำปะหลังนิยมใช้ยาฆ่าหญ้าฉีดพ่นคลุมหญ้ามากกว่า  เพราะสะดวก คนเดียวก็ทำได้วันละ 10 ไร่ ต้นทุนถูกในเรื่องค่าแรงแต่พักหลังราคายาฆ่าหญ้าเริ่มแพงขึ้น(อัศจรรย์  สุขธำรง : 2550)


 
                                                    ภาพที่ 1.1 การกำจัดวัชพืชด้วยจอบดายหญ้า

          จากบทความข้างต้นสอดคล้องกับงานวิจัยของ วิรัช อนุชานุรักษ์ ได้ศึกษาชุดใบมีดพรวนดินและกำจัดวัชพืชสำหรับติดตั้งกับเครื่องตัดหญ้าสะพายบ่า โดยนำปัญหาจากการพรวนดินและกำจัดวัชพืชที่มีอยู่มาแก้ไข การใช้สารเคมีฉีดพ่นจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และมีผลกระทบ ต่อพืชและสภาพแวดล้อม ผู้ฉีดพ่นอาจได้รับอันตรายจากสารเคมีได้ การใช้แรงงานคนจะเสียค่าใช้จ่ายสูง และเสียเวลามาก อีกทั้งปัจจุบันแรงงานภาคเกษตรกรรมยังคงขาดแคลนอยู่ การใช้เครื่องมือทุ่นแรงที่เป็น เครื่องจักรขนาดใหญ่เข้าไปทำงานรอบโคนต้นก็เป็นเรื่องที่ยาก เนื่องจากสภาพพื้นที่จำกัด การเลี้ยวรอบ โคนต้นไม่สามารถทำได้ การดูแลรักษาพืชไร่ เช่น ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง ต้องมีการพรวนดิน และกำจัดวัชพืชช่วยกัน โดยใช้เครื่องมือทุ่นแรงขนาดใหญ่เข้าไปพรวนดินและกำจัดวัชพืชระหว่างแถวของ พืช แต่ระยะระหว่างต้นของพืชไม่สามารถทำได้ ยังต้องใช้แรงงานคน และสารเคมีกำจัดวัชพืชอยู่ แนวทางการแก้ไข้ปัญหาดังกล่าว จึงมีการได้ศึกษาออกแบบชุดใบมีดพรวนดินและกำจัดวัชพืชสำหรับ เครื่องตัดหญ้าสะพายหลัง    การประดิษฐ์ชุดใบมีดพรวนดินและกำจัดวัชพืชสำหรับเครื่องตัดหญ้าสะพายหลัง ได้ชุดใบมีด พรวนดินและกำจัดวัชพืชมีลักษณะพิเศษ คือ เป็นชุดติดตั้งใบมีดที่มีเพลาส่งกำลังที่รับกำลังขับจากชุดส่ง กำลังของเครื่องตัดหญ้าสะพายหลัง โดยที่ตัวเพลาส่งกำลังมีนัทที่เป็นเกลียวซ้ายสามารถติดตั้ง เข้ากับชุดส่ง กำลังของเครื่องตัดหญ้าสะพายหลังแทนแผ่นจานยึดใบมีดตัดหญ้าได้เลย และที่แกนของเพลาส่งกำลังมีแผ่น จานสำหรับยึดใบมีดพรวนดินและกำจัดวัชพืชติดตั้งอยู่ ที่แผ่นจานแต่ละจานสามารถติดตั้งใบมีดพรวนดิน และกำจัดวัชพืชได้ทั้งสองหน้า จำนวนของใบมีดที่ติดตั้งในแต่ละจานและแต่ละด้านจะเท่ากัน มีระยะห่าง ของใบมีดที่หน้าจานเดียวกันเท่ากัน เพื่อให้เกิดความสมดุลกัน โดยติดตั้งให้คมของใบมีดหมุนไปใน ทิศทางเดียวกันกับการหมุนของแผ่นจานยึดใบมีด ในทิศทางการหมุนตามเข็มนาฬิกา ชุดติดตั้งใบมีดพรวน ดินและกำจัดวัชพืชทั้งชุดจะมีตำแหน่งการติดตั้งใบมีดแต่ละตัวแผ่นจานยึดใบมีดในลักษณะเป็นเกลียว หมุน เพื่อให้ใบมีดแต่ละตัวพรวนดินและกำจัดวัชพืชไม่พร้อมกัน ช่วยลดแรงตัด แรงเฉือน และแรงต้านที่ เกิดขึ้นขณะทำงาน ทำให้ต้นกำลังทำงานไม่หนัก ช่วยยืดอายุการใช้งานของ Wanami  Norio (2012) ได้ทำการแก้ปัญหาที่ตัดหญ้าให้ยังคงอยู่ขนานบนพื้นผิวด้านบนของใบมีดตัดโดยเฉพาะการเคลื่อนไหวด้านซ้ายและขวาของขนานใบมีดตัดกับพื้นผิวพื้นดินและหญ้าตัดเป็นแผลทั่วภาคกลางของพื้นผิวด้านบนของใบตัด ที่เกิดจากการตัดหญ้า ได้ทำการแก้ไขโดยการพัฒนาเครื่องตัดพุ่มไม้ที่มีใบมีดตัดที่แนบมากับปลายของแกนการสนับสนุนการมีส่วนปลายฐานติดตั้งอยู่บนแหล่งที่มาขับรถของเครื่องตัดพุ่มไม้ที่อำนาจของแหล่งที่มาขับรถจะถูกส่งผ่านระบบส่งกำลังหมายถึงการแทรกเข้าไปในแกนสนับสนุน ใบ ตัด ฉายหงอนไก่รูปถึงบริเวณที่มีรอยตัดใบมีดใบมีดตัดบนเส้นขยายของแกนการสนับสนุนที่มีให้บริการในแกนสนับสนุนผ่านช่องว่างที่มีขนาดเล็กที่สุดที่ได้รับอนุญาตจากพื้นผิวของใบมีดตัดเพื่อให้หญ้าตัดจะหลุดออกไป โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวด้านซ้ายและขวาของใบมีดตัดขนานกับพื้นผิวพื้นดินและคดเคี้ยวตัดหญ้ารอบภาคกลางของพื้นผิวด้านบนของใบมีดตัดคือการป้องกัน
          จากการใช้งานจริงของเกษตรกรพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ในการใช้งานใบมีดไปตัดเฉือนใบมันสำปะหลัง และไม่สามารถตัดในแนวลาดชันได้ รวมถึงเกิดการพรุ้งกระจายของเศษหญ้าและเศษดิน ไม่สามารถกำจัดวัชพืชได้แบบถอนรากถอนโคนจึงไม่นิยมใช้งานใบมีดที่มีจำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน   จะเห็นได้ว่าเครื่องมือที่เหมาะสมกับการกำจัดวัชพืชในร่องมันสำปะหลัง จึงมีความจำเป็นมากต่อการใช้งาน เพื่อเร่งการเจริญเติบโต ช่วยพรวนดินให้มีความร่วนซุยเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการออกหัวของมันสำปะหลัง พร้อมกับเป็นการช่วยกลบปุ๋ยไม่ได้โดนแสงแดดทำลายได้ในระยะที่ใบมันสำปะหลังยังไม่สามารถบังแสงได้ เครื่องมือจะต้องมีความเหมาะสมกับการใช้งาน ดังนั้นผู้วิจัยโครงการจึงได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่อง การจัดการวัชพืชในไร่มันสำปะหลัง จึงได้รวบรวมหลักการและแนวคิดต่างๆเพื่อสร้างใบมีดที่ช่วยในการกำจัดวัชพืชในรองมันสำปะหลัง โดยเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติในไร่ เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืชและทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มจากการปลูกมันสำปะหลังต่อไป
 
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
    1. เพื่อออกแบบใบมีดดายหญ้ารองมันสำปะหลังแบบใบผสม
    2. เพื่อสร้างใบมีดดายหญ้ารองมันสำปะหลังแบบใบผสม
    3. เพื่อหาประสิทธิภาพใบมีดดายหญ้ารองมันสำปะหลังแบบใบผสม
 
 ขอบเขตการวิจัย 
          การสร้างใบมีดดายหญ้าร่องมันสำปะหลังแบบใบผสมผู้วิจัยกำหนดขอบเขตในการศึกษาวิจัยมีรายละเอียดพอสรุปดังนี้
                1. ออกแบบและสร้างใบมีดดายหญ้าร่องมันสำปะหลังแบบใบผสมใช้กับเครื่องยนต์แบบสะพาย
                2. ใบมีดที่สร้างขึ้นประกอบด้วยส่วนที่ตัดวัชพืชและส่วนที่ถอนวัชพืชอยู่ในใบเดียวกัน
         3. ทดสอบความสามารถในการทำงานของ ใบมีดดายหญ้าร่องมันสำปะหลังแบบใบผสม สามารถทำงานได้ในพื้นที่ 1ไร่ ต่อ 45 นาที
           4. ทดสอบประสิทธิภาพของการกำจัดวัชพืช แปลงเพาะปลูกในดินร่วนปนทราย และแปลงเพาะปลูกในดินเหนียว
              5. เปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำงานระหว่างใบมีดดายหญ้าร่องมันสำปะหลังแบบใบผสมกับใบมีดที่มีใช้อยู่ทั่วไปในปัจจุบัน
 
นิยามศัพท์เฉพาะ
    1. ใบมีดดายหญ้า หมายถึง แผ่นเหล็กที่สร้างขึ้นสำหรับติดตั้งกับเครื่องยนต์แบบสะพายบ่า ใช้ในการกำจัดวัชพืชบริเวณรอบๆ ต้นมันสำปะหลัง ทดแทนการใช้จอบถากหรือดาย
    2. ร่องมันสำปะหลัง หมายถึง พื้นที่ลาดเอียงยกร่องขึ้นสูง เพื่อปลูกมันสำปะหลังบนสันร่อง ใช้ระยะปลูกระหว่างร่อง 80 ซม.ระหว่างต้น 80 ซม. เพื่อช่วยลดปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน มีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย และดินเหนียว
    3. เครื่องยนต์แบบสะพาย หมายถึง เครื่องยนต์แก๊สโซลีนขนาดเล็ก ส่งแรงเหวี่ยงไปยังเพลาส่งกำลังเพื่อส่งต่อไปยังชุดเฟืองของหน่วยชุดตัด ซึ่งทำหน้าที่ส่งกำลังและเปลี่ยนทิศทางการส่งกำลังจากเพลาส่งกำลังมาที่เพลาขับ ที่ต่อออกมาจากชุดเฟืองของหน่วยชุดตัด
    4. ประสิทธิภาพใบมีดดายหญ้ารองมันสำปะหลังแบบใบผสม หมายถึง การกำจัดวัชพืชด้วยใบมีดดายหญ้า ที่สร้างขึ้น โดยคิดจากปริมาณวัชพืชในแปลงมันสำปะหลังก่อนการใช้งานและปริมาณพืชที่เหลือในแปลงมันสำปะหลังหลังการใช้ใบมีดดายหญ้า
    5. ผู้เชี่ยวชาญ หมายถึง ผู้มีความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์ในการทำงานด้านเครื่องมือทางการเกษตร เครื่องจักรกลทางการเกษตร ไม่น้อยกว่า 5 ปี

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
          1. กลุ่มเกษตรกรได้ใบมีดดายหญ้าร่องมันสำปะหลังแบบใบผสมที่มีประสิทธิภาพ ได้คู่มือการใช้งานและการบำรุงรักษาอุปกรณ์กำจัดวัชพืชร่องมันสำปะหลังที่มีประสิทธิภาพ วิทยาลัยมีผลงานทางวิชาการในการร่วมประชุมสัมมนาต่อสถาบันการศึกษาด้านการศึกษาและหน่วยงานเอกชน
          2. กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังได้เครื่องมือในการช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานถางหญ้าร่องมันสำปะหลัง ลดค่าใช้จ่ายในการใช้ยากำจัดวัชพืช ช่วยเพิ่มผลกำไรในการปลุกมันสำปะหลัง สุขภาพร่างกายของเกษตรกรแข็งแรง สามารถทำการเกษตรอย่างอื่นได้ สร้างรายได้ให้กับครอบครัวอีกทางหนึ่ง และเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตอย่างยั่งยืน
        3. โครงการวิจัยนี้จะสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ให้กับกลุ่มเกษตรกรได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ความรู้ และทักษะ เพื่อให้บริการแก่ชุมชน สร้างองค์ความรู้ ใหม่ให้แก่ชุมชน ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ช่วยลดสารเคมีไหลลงสู่แม่น้ำลำคลองในชุมชน และเกิดการสนับสนุนให้เป็นอุตสาหกรรมของชุมชนสามารถสร้างความเข้มแข็งในกลุ่มชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป


กดติดตามด้วยนะครับบบ kanpalid.blogspot.com


กว่าจะได้ผลงาน...ต้องเสียไปเท่าไร
ติดต่อเอกสารเพิ่มเติม โทร ID Lain 087-0002906 ฐาปนา
❤❤❤❤




งานวิจัยในขั้นเรียน 1/2563



ชื่อเรื่อง               การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาโปรแกรมซีเอ็นซี โดยผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนรู้
ผู้วิจัย                    นายฐาปนา   เจริญพร
สถานศึกษา          วิทยาลัยการอาชีพศีขรภูมิ
ปีพ.ศ.                     1/2563

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อเปรียบเทียบผลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาโปรแกรมซีเอ็นซี โดยผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนรู้และเพื่อประเมินผลความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนรู้ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 1 สาขาวิชาช่างเทคนิคการผลิต รายวิชาโปรแกรมซีเอ็นซี  โดยผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง 1 กลุ่ม จำนวน 21 คนในภาคเรียนที่ 1/2563 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ โดยใช้ t-test (Independent Samples)

          ผลการวิจัย  พบว่า ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาโปรแกรมซีเอ็นซี โดยผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน เท่ากับ 13.81 ส่วนหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเท่ากับ 20.19 ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนสิ้นสุดลง พบว่า คะแนนหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อ วิชาโปรแกรมซีเอ็นซี โดยผู้เรียนใช้กระบวน การวิจัยในการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเป็นรายขั้นทั้ง 6 ขั้น พบว่า ขั้นการประเมินผล อยู่ในระดับมากที่สุด คือ ค่าเฉลี่ย = 3.73และมีความคิดเห็นเป็นรายข้อ อยู่ในระดับมากที่สุด คือ นักเรียนชอบที่ได้สืบค้นข้อมูลและค้นหาด้วยตนเอง  มีความคิดเห็นเป็นรายข้อ อยู่ในระดับน้อยที่สุด คือ นักเรียนเลือกแนวทางการเสนอข้อมูลได้

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

          การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคนและสังคม ให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และสังคมแห่งการเรียนรู้ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2542) กล่าวคือมีความรู้ความสามารถเต็มตามศักยภาพ เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข จึงทำให้สถาบันการศึกษาและครูผู้สอนในทุกระดับต่างตื่นตัวขานรับกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา ทำให้ครูต้องเปลี่ยนบทบาทในการจัดการเรียนรู้เปลี่ยนแปลงบทบาทจากการที่เป็นผู้ชี้ให้จำ เปลี่ยนเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ ช่วยเหลือ ส่งเสริม และสนับสนุนให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้จากสื่อหรือแหล่งเรียนรู้ต่างๆ และให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ผู้เรียนเพื่อนำ ไปสร้างสรรค์ความรู้ของตน การจัดการเรียนการสอนจะต้องพัฒนาความคิดของผู้เรียนให้มีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รูปแบบการเรียนการสอนจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนจากการมุ่งให้จำไปสู่การที่ผู้เรียนได้คิดและแสวงหาความรู้มากขึ้น  นงลักษณ์ วิรัชชัย (2546) ได้กล่าวถึงการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษากับกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมปัจจุบันไว้ว่า เป็นสังคมการเรียนรู้ ทำให้หลายสาขาวิชามีการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐาน (Research based Learning) เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการสืบสอบค้นคว้าด้วยกระบวนการวิจัย ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนนับแต่นี้ไปผู้เกี่ยวข้องทั้งผู้สอนและผู้เรียน ต้องปรับบทบาทตนเองให้เป็นผู้ที่ต้องใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนการสอนมากขึ้น การจัดการเรียนรู้แบบใช้การวิจัยเป็นฐาน ใช้วิธีการเรียนการสอนแบบสืบสอบ (Inquiry-based) ที่เน้นให้ผู้เรียนเกิดความสงสัย ทำการสืบสอบ ทดลอง ค้นพบคำตอบด้วยตนเอง กระบวนการเหล่านี้ทำให้ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ สามารถคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ การเรียนการสอนต้องให้ผู้เรียนเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-based Learning) โดยใช้ข้อสงสัยหรือปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการ ที่จะค้นคว้าหาข้อมูลมาช่วยแก้ปัญหานอกจากการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักแล้ว ผู้เรียนต้องเรียนรู้โดยใช้ตนเองเป็นหลักเพียงคนเดียวหรือเรียนรู้ร่วมกันกับเพื่อนในกลุ่มย่อย จากที่กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่าการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในปัจจุบันได้นำเอากระบวนการในการวิจัยมาใช้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ซึ่งเรียกว่าการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานหรือการเรียนการสอนแบบเน้นการวิจัย ซึ่งสอดคล้องกับแนวความคิดของ

            การสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน (Research Based Learning : RBL)เป็นการได้มาซึ่งความรู้ที่ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ในแต่ละสาขาและกระบวนการวิจัยยังทำให้ผู้วิจัยมีการวางแผนเตรียมการและดำเนินการอย่างเป็นระบบจนค้นพบความจริง สร้างความรู้ใหม่ที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ นอกจากนี้การวิจัยได้พัฒนาคุณลักษณะให้ผู้วิจัยต้องมีการคิดวิเคราะห์มีความคิดสร้างสรรค์ จรัส สุวรรณเวลา (2546 :16) การวิจัยเป็นเครื่องมือในการสร้างพลัง ผู้ที่สามารถรู้จักตนเอง และสามารถจัดการกับตนเองและสิ่งแวดล้อมได้อย่างถูกต้อง การวิจัยเป็นกระบวนการที่ผู้วิจัยต้องคิด กระทำ และสื่อสารอย่างมีระบบ โดยใช้ปัญญาเป็นฐาน ทำให้ผู้วิจัยสามารถยืนหยัดด้วยตนเองได้อย่างอิสระ ซึ่งวิธีวิจัยจะปลูกฝังให้ผู้วิจัยรู้จักคิดกล้าตัดสินใจอย่างมีเหตุผลจากข้อมูลที่มีอยู่อย่างเพียงพอและจากการพิสูจน์อย่างมีหลักการ ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐานจึงเป็นการจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือกระบวนการสืบสอบในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษาวิจัย ในการดำเนินการแสวงหาความรู้ใหม่หรือคำตอบที่เชื่อถือได้ จึงเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะการแสวงหาความรู้และทักษะพื้นฐานในการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีแนวทางการจัดการเรียนรู้ 4 แนวทาง คือ ครูใช้ผลการวิจัยในการเรียนการสอน ผู้เรียนใช้ผลการวิจัยในการเรียนการสอน ครูใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนการสอน และผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนการสอน ทิศนา แขมมณี (2548 : 3-6)

          ปัจจุบันแผนกวิชาช่างกลโรงาน  วิทยาลัยการอาชีพศีขรภูมิ จัดการเรียนการสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ได้รับการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีเครื่องจักรกลซีเอ็นซี และเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับงานเขียนแบบออกแบบสำหรับงานซีเอ็นซี จากหน่วยงานต้นสังกัดและการบริจาคของหน่วยงานเอกชน  เพื่อให้นักเรียนนักศึกษาได้เรียนรู้อย่างเต็มความสามารถ กระบวนการจัดการเรียนรู้จึงมีส่วนสำคัญในการจัดการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับมาตรฐานรายวิชา  ดังนั้นจากหลักการและเหตุผลดังกล่าวในฐานะที่ผู้ศึกษาได้เห็นความสำคัญในการจัดการเรียนรู้โดยใช้งานวิจัยเป็นฐาน ในการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน สาขาช่างอุตสาหกรรม หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  วิทยาลัยการอาชีพศีขรภูมิ ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะพัฒนาการจัดการเรียนการสอน โดยการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ วิชาโปรแกรมซีเอ็นซี โดยใช้วิจัยเป็นฐานรู้แบบผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนรู้ เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ส่งผลต่อพัฒนาตัวผู้เรียนและครูผู้สอนต่อไป

 วัตถุประสงค์ของการวิจัย

          1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาโปรแกรมซีเอ็นซี โดยผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนรู้

          2. เพื่อประเมินผลความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนรู้

ขอบเขตการวิจัย 

          1. ขอบเขตด้านเนื้อหา

               การวิจัยครั้งนี้เป็นสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนรู้ โดยกำหนดเนื้อหาที่ใช้จัดทำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ สาขาช่างอุตสาหกรรม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 1 ได้แก่ วิชาโปรแกรมซีเอ็นซี รหัสวิขา 30102-2003 ในภาคเรียนที่ 1/2563

          2. ขอบเขตด้านประชากร

               ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 1 สาขาวิชาช่างเทคนิคการผลิต ที่ลงทะเบียนเรียน ประเภทวิชาเทคนิคอุตสาหกรรม  รายวิชาโปรแกรมซีเอ็นซี  โดยผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการจัดการเรียนรู้ก่อนเรียน กับหลังเรียน 2 กลุ่ม จำนวน 21 คนในภาคเรียนที่ 1/2563 โดยจัดการเรียนรู้แบบผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนรู้

          3. ขอบเขตด้านระยะเวลาในการศึกษาวิจัย

            ระยะเวลาในการศึกษาวิจัยการจัดการเรียนรู้วิชาโปรแกรมซีเอ็นซี โดยผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนรู้  ดำเนินการวิจัยโดยการจัดการเรียนการสอน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 กลุ่มทดลอง 1 กลุ่ม จำนวน 21 เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลรวมทั้งสิ้น 18 สัปดาห์

นิยามศัพท์เฉพาะ

1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ หมายถึง เป็นการจัดการเรียนรู้ วิชาโปรแกรมซีเอ็นซี ที่มุ่งให้ผู้เรียนเรียนโดยลงมือกระทำหรือโดยการสังเกต เป็นการนำรูปธรรมมาอธิบายนามธรรม ผู้เรียนจะค้นหาข้อสรุปด้วยตนเอง โดยทำการวิจัยทดลอง ซึ่งใช้กระบวนการวิจัย

2. วิชาโปรแกรมซีเอ็นซี หมายถึง รายวิชาที่ใช้จัดการเรียนรู้ รหัสวิขา 30102-2003  ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2563 กลุ่มทักษะวิชาชีพ ประเภทวิชาเทคนิคอุตสาหกรรม   สาขาวิชาเทคนิคการผลิต  ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2563

3. กระบวนการวิจัยในการเรียนรู้ หมายถึง การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนวิจัยเข้าไปช่วยทำ ให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อหาสาระที่ต้องการ ใช้กระบวนการวิจัยครบทุกขั้นตอน หรือใช้บางขั้นตอนตามความเหมาะสมกับเนื้อหาสาระการเรียนรู้วัตถุประสงค์และข้อจำกัดที่มี

4. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ หมายถึง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ ความสามารถในการเรียนรู้ วิชาโปรแกรมซีเอ็นซี ระหว่างก่อนเรียน กับหลังเรียน ที่วัดได้จากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

5. ความคิดเห็นของผู้เรียน หมายถึง ความรู้สึกหรือความคิดเห็นที่นักศึกษา ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา วิชาโปรแกรมซีเอ็นซี ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 มีต่อการเรียนโดยใช้การวิจัยเป็นฐานวิชาหลักการจัดการเรียนรู้ วัดโดยใช้แบบประเมินความคิดเห็นของตนเองโดยใช้มาตรประมาณค่าของ Liker 5 ระดับ คือ เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

      1. ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนวิชาหลักการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน
     2. เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้สาหรับผู้สอนเพื่อนำไปปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
    3. เป็นแนวทางในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การวิจัยเป็นฐานในเนื้อหารายวิชาอื่นๆ ต่อไป
    4. นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น














วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564

โปรแกรมซีเอ็นซีกัด (Program CNC Milling) 30102-001

 



การเขียนโปรแกรมงานเจาะด้วยโปรแกรมซีเอ็นซีมิลลิ่ง
(การเขียนโปรแกรมไม่จำเป็นต้องใส่ค่าN....ทุกบรรทัด.)

กำหนดให้ 

    Tool 1 = Center Drill

    Tool 2 = Drill 15 mm.

O1000 ;
N1 T1 M06 ;
G90 G00 G80 G40 ;
G91 G28 X0 Y0 Z0 ;
G90 G00 G54 X0 Y0 M03 S2000 ;
G43 Z100. H1 M8 ;
Z5. ;
G98 G81 Z-2. R1. K0 F250 ;
X80. Y40. ;
Y-40. ;
X-80. ;
Y40. ;
G90 G00 Z100. M9 ;
G91 G28 Z0 Y0 ;
N2 T2 M06 ;
G90 G00 G54 X0 Y0 M03 S800 ;
G43 Z100. H2 M8 ;
Z5. ;
G98 G83 Z-60. R1. Q2. K0 F50 ;
X80. Y40. ;
Y-40. ;
X-80. ;
Y40. ;
G90 G00 Z100. M9 ;
G91 G28 Z0 Y0 ;
M30 ;




วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2564

เครื่องดัดเหล็กปลอกเสาระบบอัตโนมัติ

 









หัวข้อวิจัย        เครื่องดัดเหล็กปลอกเสาระบบอัตโนมัติ
ผู้ดำเนินการวิจัย นายธนาวัฒน์    แต้มทอง และคณะ
ครูที่ปรึกษา      นายฐาปนา   เจริญพร
หน่วยงาน        แผนกวิชาช่างกลโรงงาน   วิทยาลัยการอาชีพศีขรภูมิ
ปีที่จัดทำ         2563

 

บทคัดย่อ

           ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพเครื่องดัดเหล็กปลอกเสาระบบอัตโนมัติ โดยมีสมมุติฐานในการวิจัย คือ เครื่องดัดเหล็กปลอกเสาระบบอัตโนมัติที่สร้างขึ้นต้องมีประสิทธิภาพของเครื่อง การม้วนเหล็กปลอกเสาระบบอัตโนมัติจำนวน 20 ชิ้น ภายในเวลา 1 นาที  ได้ทำการทดสอบหาประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์การวิจัยพร้อมทั้งทำการปรับปรุงแก้ไขใน หลังการปรับปรุงแก้ไขแล้วจึงนำไปหาความเหมาะสมของประสิทธิภาพเครื่อง จากนั้นนำไปวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เกณฑ์ความเหมาะสม ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยพร้อมทั้งการสร้างคู่มือการใช้งาน

                   ผลการประเมินคุณภาพของเครื่องดัดเหล็กปลอกเสาระบบอัตโนมัติ โดยผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 ท่าน มีความเห็นเกี่ยวกับคุณภาพของเครื่อง ทั้ง 4 ด้าน โดยภาพรวมการประเมินมีเกณฑ์ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=3.95) ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงกว่า 3.5 ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ การหาความเหมาะสมของประสิทธิภาพ เครื่องดัดเหล็กปลอกแบบเกลียววัสดุเส้นผ่าศูนย์กลาง 6.0 มิลิเมตร สรุปผลการหาประสิทธิภาพการดัดเหล็กปลอกแบบเกลียว โดยทำการหาประสิทธิภาพทั้งหมด 3 ครั้ง โดยเฉลี่ยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ได้ 92 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นเครื่องดัดเหล็กปลอกแบบเกลียวมีประสิทธิภาพ 92 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้

Research Title     Automatic steel column bar bending machine
Researcher               Mr. Thanawat Taemthong and group
Research Consultants     Mr.Thapana Charoenporn
Organization            Sikhoraphum Industrial and Community Education College
Year                       2020

 

Abstract

          In this research, the objectives of this research are to To create and findefficiency,automatic column bender The hypothesis in this research is that the automaticcolumn bender must be efficient of the machine. Automatic winding of 20 pieces of steelsheaths within 1 minute was tested for efficacy according to research objectives. After therevision, it will be taken to find the suitability of the machine performance. Then the datawere analyzed using the suitability criteria. The researcher analyzed the data by finding averages and creating a user manual.

                   Quality assessment results of automatic column bar bending machine All 5 experts commented on the quality of the machines in all four areas, overall, the assessment criteria was at a high level. (Mean = 3.95), which is higher than 3.5 according to the assumptions set. Finding the Suitability of Efficiency Threaded sheath bender, material diameter 6.0 mm. Summary of results for the bending performance of threaded sheath. All three times the efficiency was analyzed, 92 percent on average. Therefore, the spiral casing bender had an efficiency of 92 percent higher than the specified criteria.
























การเขียนโปรแกรมคว้านรู Boring ด้วยG90 หรือG91

  การเขียนโปรแกรมคว้านรู ด้วย G90 หรือ G91          การคว้านรูหรือBoring ในงานซีเอ็นซีโดยการเขียนโปรแกรมหน้าจอผู้ทำโปรแกรมต้องมีความชำนาญและ...