หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2564

งานวิจัยในขั้นเรียน 1/2563



ชื่อเรื่อง               การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาโปรแกรมซีเอ็นซี โดยผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนรู้
ผู้วิจัย                    นายฐาปนา   เจริญพร
สถานศึกษา          วิทยาลัยการอาชีพศีขรภูมิ
ปีพ.ศ.                     1/2563

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อเปรียบเทียบผลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาโปรแกรมซีเอ็นซี โดยผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนรู้และเพื่อประเมินผลความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนรู้ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 1 สาขาวิชาช่างเทคนิคการผลิต รายวิชาโปรแกรมซีเอ็นซี  โดยผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง 1 กลุ่ม จำนวน 21 คนในภาคเรียนที่ 1/2563 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ โดยใช้ t-test (Independent Samples)

          ผลการวิจัย  พบว่า ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาโปรแกรมซีเอ็นซี โดยผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน เท่ากับ 13.81 ส่วนหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเท่ากับ 20.19 ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนสิ้นสุดลง พบว่า คะแนนหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อ วิชาโปรแกรมซีเอ็นซี โดยผู้เรียนใช้กระบวน การวิจัยในการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเป็นรายขั้นทั้ง 6 ขั้น พบว่า ขั้นการประเมินผล อยู่ในระดับมากที่สุด คือ ค่าเฉลี่ย = 3.73และมีความคิดเห็นเป็นรายข้อ อยู่ในระดับมากที่สุด คือ นักเรียนชอบที่ได้สืบค้นข้อมูลและค้นหาด้วยตนเอง  มีความคิดเห็นเป็นรายข้อ อยู่ในระดับน้อยที่สุด คือ นักเรียนเลือกแนวทางการเสนอข้อมูลได้

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

          การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคนและสังคม ให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และสังคมแห่งการเรียนรู้ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2542) กล่าวคือมีความรู้ความสามารถเต็มตามศักยภาพ เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข จึงทำให้สถาบันการศึกษาและครูผู้สอนในทุกระดับต่างตื่นตัวขานรับกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา ทำให้ครูต้องเปลี่ยนบทบาทในการจัดการเรียนรู้เปลี่ยนแปลงบทบาทจากการที่เป็นผู้ชี้ให้จำ เปลี่ยนเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ ช่วยเหลือ ส่งเสริม และสนับสนุนให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้จากสื่อหรือแหล่งเรียนรู้ต่างๆ และให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ผู้เรียนเพื่อนำ ไปสร้างสรรค์ความรู้ของตน การจัดการเรียนการสอนจะต้องพัฒนาความคิดของผู้เรียนให้มีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รูปแบบการเรียนการสอนจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนจากการมุ่งให้จำไปสู่การที่ผู้เรียนได้คิดและแสวงหาความรู้มากขึ้น  นงลักษณ์ วิรัชชัย (2546) ได้กล่าวถึงการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษากับกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมปัจจุบันไว้ว่า เป็นสังคมการเรียนรู้ ทำให้หลายสาขาวิชามีการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐาน (Research based Learning) เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการสืบสอบค้นคว้าด้วยกระบวนการวิจัย ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนนับแต่นี้ไปผู้เกี่ยวข้องทั้งผู้สอนและผู้เรียน ต้องปรับบทบาทตนเองให้เป็นผู้ที่ต้องใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนการสอนมากขึ้น การจัดการเรียนรู้แบบใช้การวิจัยเป็นฐาน ใช้วิธีการเรียนการสอนแบบสืบสอบ (Inquiry-based) ที่เน้นให้ผู้เรียนเกิดความสงสัย ทำการสืบสอบ ทดลอง ค้นพบคำตอบด้วยตนเอง กระบวนการเหล่านี้ทำให้ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ สามารถคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ การเรียนการสอนต้องให้ผู้เรียนเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-based Learning) โดยใช้ข้อสงสัยหรือปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการ ที่จะค้นคว้าหาข้อมูลมาช่วยแก้ปัญหานอกจากการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักแล้ว ผู้เรียนต้องเรียนรู้โดยใช้ตนเองเป็นหลักเพียงคนเดียวหรือเรียนรู้ร่วมกันกับเพื่อนในกลุ่มย่อย จากที่กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่าการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในปัจจุบันได้นำเอากระบวนการในการวิจัยมาใช้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ซึ่งเรียกว่าการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานหรือการเรียนการสอนแบบเน้นการวิจัย ซึ่งสอดคล้องกับแนวความคิดของ

            การสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน (Research Based Learning : RBL)เป็นการได้มาซึ่งความรู้ที่ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ในแต่ละสาขาและกระบวนการวิจัยยังทำให้ผู้วิจัยมีการวางแผนเตรียมการและดำเนินการอย่างเป็นระบบจนค้นพบความจริง สร้างความรู้ใหม่ที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ นอกจากนี้การวิจัยได้พัฒนาคุณลักษณะให้ผู้วิจัยต้องมีการคิดวิเคราะห์มีความคิดสร้างสรรค์ จรัส สุวรรณเวลา (2546 :16) การวิจัยเป็นเครื่องมือในการสร้างพลัง ผู้ที่สามารถรู้จักตนเอง และสามารถจัดการกับตนเองและสิ่งแวดล้อมได้อย่างถูกต้อง การวิจัยเป็นกระบวนการที่ผู้วิจัยต้องคิด กระทำ และสื่อสารอย่างมีระบบ โดยใช้ปัญญาเป็นฐาน ทำให้ผู้วิจัยสามารถยืนหยัดด้วยตนเองได้อย่างอิสระ ซึ่งวิธีวิจัยจะปลูกฝังให้ผู้วิจัยรู้จักคิดกล้าตัดสินใจอย่างมีเหตุผลจากข้อมูลที่มีอยู่อย่างเพียงพอและจากการพิสูจน์อย่างมีหลักการ ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐานจึงเป็นการจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือกระบวนการสืบสอบในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษาวิจัย ในการดำเนินการแสวงหาความรู้ใหม่หรือคำตอบที่เชื่อถือได้ จึงเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะการแสวงหาความรู้และทักษะพื้นฐานในการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีแนวทางการจัดการเรียนรู้ 4 แนวทาง คือ ครูใช้ผลการวิจัยในการเรียนการสอน ผู้เรียนใช้ผลการวิจัยในการเรียนการสอน ครูใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนการสอน และผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนการสอน ทิศนา แขมมณี (2548 : 3-6)

          ปัจจุบันแผนกวิชาช่างกลโรงาน  วิทยาลัยการอาชีพศีขรภูมิ จัดการเรียนการสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ได้รับการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีเครื่องจักรกลซีเอ็นซี และเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับงานเขียนแบบออกแบบสำหรับงานซีเอ็นซี จากหน่วยงานต้นสังกัดและการบริจาคของหน่วยงานเอกชน  เพื่อให้นักเรียนนักศึกษาได้เรียนรู้อย่างเต็มความสามารถ กระบวนการจัดการเรียนรู้จึงมีส่วนสำคัญในการจัดการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับมาตรฐานรายวิชา  ดังนั้นจากหลักการและเหตุผลดังกล่าวในฐานะที่ผู้ศึกษาได้เห็นความสำคัญในการจัดการเรียนรู้โดยใช้งานวิจัยเป็นฐาน ในการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน สาขาช่างอุตสาหกรรม หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  วิทยาลัยการอาชีพศีขรภูมิ ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะพัฒนาการจัดการเรียนการสอน โดยการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ วิชาโปรแกรมซีเอ็นซี โดยใช้วิจัยเป็นฐานรู้แบบผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนรู้ เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ส่งผลต่อพัฒนาตัวผู้เรียนและครูผู้สอนต่อไป

 วัตถุประสงค์ของการวิจัย

          1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาโปรแกรมซีเอ็นซี โดยผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนรู้

          2. เพื่อประเมินผลความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนรู้

ขอบเขตการวิจัย 

          1. ขอบเขตด้านเนื้อหา

               การวิจัยครั้งนี้เป็นสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนรู้ โดยกำหนดเนื้อหาที่ใช้จัดทำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ สาขาช่างอุตสาหกรรม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 1 ได้แก่ วิชาโปรแกรมซีเอ็นซี รหัสวิขา 30102-2003 ในภาคเรียนที่ 1/2563

          2. ขอบเขตด้านประชากร

               ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 1 สาขาวิชาช่างเทคนิคการผลิต ที่ลงทะเบียนเรียน ประเภทวิชาเทคนิคอุตสาหกรรม  รายวิชาโปรแกรมซีเอ็นซี  โดยผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการจัดการเรียนรู้ก่อนเรียน กับหลังเรียน 2 กลุ่ม จำนวน 21 คนในภาคเรียนที่ 1/2563 โดยจัดการเรียนรู้แบบผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนรู้

          3. ขอบเขตด้านระยะเวลาในการศึกษาวิจัย

            ระยะเวลาในการศึกษาวิจัยการจัดการเรียนรู้วิชาโปรแกรมซีเอ็นซี โดยผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนรู้  ดำเนินการวิจัยโดยการจัดการเรียนการสอน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 กลุ่มทดลอง 1 กลุ่ม จำนวน 21 เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลรวมทั้งสิ้น 18 สัปดาห์

นิยามศัพท์เฉพาะ

1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ หมายถึง เป็นการจัดการเรียนรู้ วิชาโปรแกรมซีเอ็นซี ที่มุ่งให้ผู้เรียนเรียนโดยลงมือกระทำหรือโดยการสังเกต เป็นการนำรูปธรรมมาอธิบายนามธรรม ผู้เรียนจะค้นหาข้อสรุปด้วยตนเอง โดยทำการวิจัยทดลอง ซึ่งใช้กระบวนการวิจัย

2. วิชาโปรแกรมซีเอ็นซี หมายถึง รายวิชาที่ใช้จัดการเรียนรู้ รหัสวิขา 30102-2003  ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2563 กลุ่มทักษะวิชาชีพ ประเภทวิชาเทคนิคอุตสาหกรรม   สาขาวิชาเทคนิคการผลิต  ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2563

3. กระบวนการวิจัยในการเรียนรู้ หมายถึง การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนวิจัยเข้าไปช่วยทำ ให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อหาสาระที่ต้องการ ใช้กระบวนการวิจัยครบทุกขั้นตอน หรือใช้บางขั้นตอนตามความเหมาะสมกับเนื้อหาสาระการเรียนรู้วัตถุประสงค์และข้อจำกัดที่มี

4. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ หมายถึง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ ความสามารถในการเรียนรู้ วิชาโปรแกรมซีเอ็นซี ระหว่างก่อนเรียน กับหลังเรียน ที่วัดได้จากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

5. ความคิดเห็นของผู้เรียน หมายถึง ความรู้สึกหรือความคิดเห็นที่นักศึกษา ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา วิชาโปรแกรมซีเอ็นซี ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 มีต่อการเรียนโดยใช้การวิจัยเป็นฐานวิชาหลักการจัดการเรียนรู้ วัดโดยใช้แบบประเมินความคิดเห็นของตนเองโดยใช้มาตรประมาณค่าของ Liker 5 ระดับ คือ เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

      1. ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนวิชาหลักการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน
     2. เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้สาหรับผู้สอนเพื่อนำไปปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
    3. เป็นแนวทางในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การวิจัยเป็นฐานในเนื้อหารายวิชาอื่นๆ ต่อไป
    4. นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การเขียนโปรแกรมคว้านรู Boring ด้วยG90 หรือG91

  การเขียนโปรแกรมคว้านรู ด้วย G90 หรือ G91          การคว้านรูหรือBoring ในงานซีเอ็นซีโดยการเขียนโปรแกรมหน้าจอผู้ทำโปรแกรมต้องมีความชำนาญและ...